ยินดีต้อนรับเข้าสู่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งสา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130 โทรศัพท์ 053-064100 ,www.pongsa.go.th,saraban-pongsa@lgo.mail.go.th

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร




facebook



ศูนย์ดำรงธรมม





สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 25/05/2563
วันนี้
89
เมื่อวานนี้
24
เดือนนี้
0
เดือนที่แล้ว
1,702
ปีนี้
14,826
ปีที่แล้ว
14,060
ทั้งหมด
42,102
ไอพี ของคุณ
34.204.172.188

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งสาเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537  ที่ตั้งตำบลโป่งสาสันนิษฐานว่า เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวลั้วะ  ซึ่งมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ซึ่งปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดี อาทิ วัดร้างขนาดใหญ่มากกว่า  20  แห่ง  โดยมีอายุประมาณ  400 ปี ต่อมาด้วยสาเหตุไม่แน่ชัด ชาวเผ่าลั้วะ  ได้อพยพออกไป  ทิ้งให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่า กลายเป็นป่าทึบมีสัตว์ป่านานาชนิด มาอาศัยอยู่มากมาย

            ต่อมาประมาณ  ปี  พ.ศ. 2400  ได้มีชนเผ่ากะเหรี่ยงอพยพมาจากบ้านแม่สะมาด  ตำบลผาบ่องอำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ ชุมชนแห่งนี้จึงค่อยเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนั้นยังมีชาวเผ่าม้งและชาวพื้นราบ คนเมือง) จากชุมชนใกล้เคียงในจังหวัดเชียงใหม่อพยพเข้ามาอยู่ด้วยจึงกลายเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านโป่งสา”  ซึ่งเรียกตามสถานที่ที่ตนมาตั้งบ้านเรือนอยู่คือ ในสมัยนั้น พื้นที่บริเวณทางทิศใต้ของโรงเรียนบ้านโป่งสาในปัจจุบัน มีโป่งเกลือสินเธาร์ และ คำว่า “สา” หมายถึงค้นสานั่นเอง คำว่า “โป่งสา” จึงใช้เป็นชื่อเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านตั้งแต่นั้นมา

            ตำบลโป่งสาเดิมเป็นหมู่บ้าน  หมู่ที่ 9 ขึ้นกับตำบลแม่ฮี้  อำเภอปาย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะบ้านโป่งสา ประกอบด้วยบริวาร  6  หมู่บ้าน คือ บ้านโป่งสา  บ้านห้วยไร่  บ้านห้วยเดื่อ  บ้านแม่เหมืองหลวง  บ้านขุนสาใน  บ้านโป่งทาก   ในปี  พ.ศ. 2532  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแยกบ้านปางตองออกจากบ้านโป่งทาก  เป็นบ้านปางตอง  หมู่ที่ 7  กำนันตำบลโป่งสาคนแรก  ชื่อ  นายอ้าย  ต่อมคำ  และผู้ใหญ่บ้านคนแรกบ้านโป่งสา  ชื่อนายเฮือน   บุญปวน  ปัจจุบัน (2559) มี นายสุพัฒน์  หมื่นสุข   เป็นกำนันตำบลโป่งสา 

              ตำบลโป่งสาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสา  มีเนื้อที่ประมาณ  479  ตารางกิโลเมตร  มี อาณาเขตติดต่อดังนี้

            *  ทิศเหนือ            จรดตำบลแม่ฮี้            อำเภอปาย           จังหวัดแม่ฮ่องสอน

            *  ทิศใต้                จรดตำบลยั้งเมิน         อำเภอแม่แจ่ม       จังหวัดเชียงใหม่

            *  ทิศตะวันออก       จรดตำบลป่าแป๋          อำเภอแม่แตง        จังหวัดเชียงใหม่

            *  ทิศตะวันตก        จรดตำบลเมืองแปง       อำเภอปาย            จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

 

การปกครอง

            ตำบลโป่งสา แบ่งการปกครองออกเป็น  7  หมู่บ้าน  ดังนี้

 

 

 

ประชากร

 

ชื่อหมูบ้าน

ครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

หมู่1

บ้านโป่งสา

187

263

251

514

หมู่2

บ้านห้วยไร่-ขุนสานอก

71

107

101

208

หมู่3

บ้านห้วยเดื่อ

151

210

178

388

หมู่4

บ้านแม่เหมืองหลวง

212

337

320

657

หมู่5

บ้านขุนสาใน

150

374

357

731

หมู่6

บ้านโป่งทาก-หย่อมบ้านแม่อีล้อ

82

158

143

301

หมู่7

บ้านปางตอง

91

207

196

403

 

รวม

944

1,656

1,546

3,202

           

ลักษณะภูมิประเทศ

                   ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นป่าและภูเขาสูง  มีเทือกเขาแม่ยะ  ทอดยาวทางทิศเหนือ  แบ่งเขตระหว่างตำบลแม่ฮี้และตำบลโป่งสา  เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดจากระดับน้ำทะเล  2,005  เมตร (ยอดดอยอินทนนท์สูง 2,590 เมตร)  และทางด้านทิศทางตะวันออกมียอดดอยม่อนอังเกตุ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบ้านขุนสาในกับบ้านปางตอง แบ่งเขตระหว่างตำบลป่าแป๋   อำเภอแม่แตง  ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล  1,805  เมตร

ประชากร

       ตำบลโป่งสา  มีประชากรทั้งสิ้น  3,083   คน   ประชากรประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ  กะเหรี่ยง   ลีซอ  ม้ง  ชาวพื้นราบ  (คนเมือง)  และมูเซอร์ดำ

อาชีพ

           อาชีพหลักคือ  การเกษตร  ได้แก่  ปลูกข้าวไร่  ข้าวนาดำ  และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่  กะหล่ำปลี  ถั่วแขก ถั่วลิสง   แครอท   สตอเบอรี่  อาชีพรองคือ  การเลี้ยงสัตว์ประเภท โค กระบือ  ไก่ และการรับจ้างโดยการขายแรงงาน เป็นลูกจ้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่

 

การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา(อนุบาล 1-ป.6)   3        แห่ง

โรงเรียนมัธยมศึกษา (อนุบาล 1-ม.3)    2        แห่ง (ม. ต้นในโครงการขยายโอกาส)

 

 

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

วัด        3        แห่ง         (บ้านโป่งสา,บ้านห้วยไร่,บ้านแม่เหมืองหลวง)

โบสถ์    7          แห่ง   (บ้านโป่งสา,บ้านห้วยเดื่อ,บ้านแม่เหมืองหลวง,บ้านขุนสาใน,บ้านโป่งทากและบ้านปางตอง)

 

ศาสนา

         ประชากรร้อยละ  80  นับถือศาสนาคริสต์  ร้อยละ  15  นับถือศาสนาพุทธ  และอีกร้อยละ 5 ยังคงนับถือผีบรรพบุรุษ

 

เผ่ากะเหรี่ยงในหมู่ที่1,2,3,4,6,7

เป็นเผ่าที่เคร่งครัดในศีลธรรมและยึดมั่นในประเพณี

กิจกรรมเข้าโบสถ์วันอาทิตย์ : จะมีผู้นำศาสนาเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม และให้คำสั่งสอน เพื่อประสงค์ให้ประชาชนรักใคร่ปองดองกัน

พิธีผูกข้อมือ : กิจกรรมนี้จัดขึ้นปีละ 1 ครั้งใกล้ๆวันคริสมาสต์ จะมีการรวมญาติกัน เพื่อให้ผู้เฒ่าผู้แก่ บุคคลที่เป็นที่น่านับถือของชุมชน ผูกข้อมือให้ลูกหลาน เป็นการสร้างความผูกพันในระบบเครือญาติ

พิธีเก๊าะตะบา  : เป็นพิธีเลี้ยงรับขวัญเด็กหลังคลอด 1 เดือนหรือวันคล้ายวันเกิดเด็กพิธีกรรมคือ การผูกข้อมือ ด้วยเงินหรือของมีค่า เพื่อให้เด็กมีชีวิตที่รุ่งเรือง

ประเพณีวันคริสต์มาส  : มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพระหว่างหมู่บ้านในแต่ละปี เน้นการส่งเสริมให้เยาวชน มีการแสดงออกทางด้านดนตรี กีฬา กิจกรรมรื่นเริง  มีการเลี้ยงฉลองอาหาร ขนม แต่ให้มีเครื่องดื่มที่เป็นของมึนเมา

 

เผ่าพื้นเมือง หมู่ที่1,2

เป็นเผ่าที่ผู้หญิงมีโอกาสแสดงความคิดเห็นมากและมีอำนาจตัดสินใจพอๆกับผู้ชายและมีประเพณีวัฒนธรรมต่างๆดังนี้

พิธีทานข้าวใหม่  :  กระทำหลังจากเสร็จภาระกิจการเก็บเกี่ยว มีวัดเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา

ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา  ในช่วงเข้าพรรษามีคนเฒ่าคนแก่ รวมกลุ่มกันไปนอนวัด เพื่อถือศีล 8 ถวายเป็นพุทธบูชา

ประเพณีวันยี่เป็ง   ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีตานก๋วยสลากพัตร์ เป็นการทำบุญหลังเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นศิริมงคล

 

เผ่าม้งขุนสาใน ม. 5

เป็นเผ่าที่ผู้ชายมีอำนาจในการตัดสินใจสูงและเป็นเผ่าที่ไม่นิยมคุมกำเนิดและเป็นเผ่าที่ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพมมีประเพณีที่สำคัญดังนี้

กิจกรรมเข้าโบสถ์วันเสาร์  :  เพื่อประกอบกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งจะมีผู้นำศาสนาเป็นผู้สวดตามบทพระคัมภีร์ ต่อจากนั้นจะเป็นการอบรมสั่งสอน ตามความเชื่อ เพื่อให้มีผลต่อจิตใจของผู้นับถือศาสนาเมื่อปี 2547 มีความเชื่อในการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ประมาณ ร้อยละ 80 ซึ่งมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตังแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ

ประเพณีปีใหม่ม้ง (กินวอ)   : จะมีกิจกรรมรวมกลุ่มของเครือญาติเพื่อประกอบพิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ มีการแต่งกายชุดม้งที่สวยงามที่สุด (ชุดเต็มยศ) ปีหนึ่งจะถูกนำมาใช้ แต่งครั้งหนึ่ง ซึ่งถือว่าสำคัญมาก มีการเล่นโยนผ้า เพื่อสร้างความผูกพันหรือการเลือกคู่ของหนุ่มสาว ประเพณีนี้จะจัดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 – 7 วัน โดยไม่มีการใช้จ่ายเงิน จะหยุดงานอาชีพทุกอย่าง อาหารจะบริโภคเฉพาะที่เป็นเนื้อสัตว์ ถ้าบริโภคผัก ถือว่าผิดผี หรือประกอบอาชีพไม่รุ่งเรือง  สำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ในปัจจุบันก็ปรุงอาหารเจ รับประทาน

ประเพณีกินข้าวใหม่ : จะประกอบพิธีกรรมหลังเสร็จสิ้นภาระกิจเก็บเกี่ยวข้าว กิจกรรมจะมีการรวมญาติ เพื่อร่วมไหว้ผีเลี้ยงข้าวใหม่บรรพบุรุษ มีการตำข้าวปุก (ข้าวเหนียวนึ่งตำด้วยครกกระเดื่อง ให้แหลกแล้วนำไปแผ่เป็นแผ่นนำไปทอดหรือปิ้ง) กิจกรรมนี้จะสร้างความผูกพัน กันเป็นอย่างดี ระหว่างคนในครอบครัวทำให้เกิดความรู้สึกครอบครัวอบอุ่น

 

สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล              1         แห่ง

สาธารณสุขชุมชน                                      2        แห่ง

 

การคมนาคม

         มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับอำเภอปาย 2 เส้นทางและติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ 2 เส้นทางคือ

เส้นทางติดต่ออำเภอปาย

1.สายหลัก  โป่งสา – ผาลิ้น  ทางหลวงหมายเลข 1095  ปาย – แม่มาลัย   ราดยาง  68 กิโลเมตร และทางคอนกรีตเสริมเหล็ก 25 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ  93  กิโลเมตร

2.สายรอง  โป่งสา  -  ห้วยไร่ – ห้วยเดื่อ – แม่เหมืองหลวง -  แม่ยะ  ทางหลวงหมายเลข 1095 ปาย- แม่มาลัย ราดยาง 21 กิโบเมตร ลูกรัง 38 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ  59  กิโลเมตร

 

เส้นทางติดต่อจังหวัดเชียงใหม่

1.สายหลัก โป่งสา – ผาลิ้น  ทางหลวงหมายเลข  1095  ปาย – แม่มาลัย – เชียงใหม่ ราดยางและคอนกรีตเสริมเหล็กรวมระยะทางประมาณ     95 กิโลเมตร

 

 

2.สายรอง  โป่งสา  -  ปางตอง – ยั้งเมิน – สะเมิง – แม่ริม  ทางหลวงหมายเลข 107 ฝาง – เชียงใหม่  ระยะทางประมาณ  87  กิโลเมตร

 

การโทรคมนาคม

          ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (ไปรษณีย์อนุญาต)       1        แห่ง

 

การไฟฟ้า

            ตำบลโป่งสา มี 7 หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้แล้ว 7 หมู่บ้านคือ 1,2,3,4,5,6,7

แหล่งน้ำธรรมชาติ

          ลำน้ำ,ลำห้วย  6  แห่ง คือ น้ำสา,น้ำห้วยโป่งทาก,น้ำห้วยปางตอง,น้ำขุนห้วยเดื่อ,น้ำห้วยบ่อส่อม,และน้ำห้วยชมพู

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

          บ่อน้ำตื้น         30      แห่ง

          บ่อโยก           1       แห่ง

ทรัพยากร

             ลำคลอง,ลำน้ำ,หนองน้ำ,แร่ถ่านหิน  และต้นไม้เบญจพันธุ์

โบราณสถานโบราณวัตถุ

วัดร้างซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณ  ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณ สังเกตได้จากการพบซากอิฐที่ใช้ก่อสร้างกองระเกะระกะรอบ ๆ บริเวณทั่วไป

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ

          มีผู้รู้ชำนาญสามารถปฏิบัติ หรือถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่นเกิดความรู้ และความเข้าใจดีได้แก่การตีเหล็ก ทำเคียวเกี่ยวข้าว ทำมีด ทำขวาน ทำเสียม การจัดสานไม้ไผ่ ได้แก่ กระบุง ตะกร้า ตะแกรงสาน เสื่อ ที่ใส่ข้าวเหนียวการเจาะไม้เนื้ออ่อนเป็นภาชนะ ได้แก่ เจาะไหนึ่งข้าว เจาะครก เจาะถังไม้ การทำอิฐ ได้แก่ ปั้นซีเมนต์บล็อก  ด้านศิลปะและการดนตรี ได้แก่ ดนตรีพื้นเมือง สล้อ ซอซึง ฟ้อนดาบ ค่าวซอ ด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การทอผ้าด้วยมือ ได้แก่ ทอเสื้อ ทอกางเกง ทอผ้าพันคอ ทอหมวก ทอกระโปรง ทอกระเป๋าการปักผ้า ปักเสื้อ ปักกระโปรง และเครื่องใช้ต่าง ๆ  ด้านการทำไม้กวาดดอกหญ้า

 

เนื้อที่

พื้นที่ทั้งหมดมีจำนวน  299,375  ไร่  เป็นพื้นที่การเกษตร  250,000 ไร่     หรือมีพื้นที่ประมาณ   479  ตารางกิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

          มีแหล่งน้ำตกธรรมชาติ ขุนเขาป่าไม้  หุบเขามีภูเขาล้อมรอบทำให้บรรยากาศและวิวทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะที่ม่อนดอยอังเกต  โขดหินและธารน้ำไหล